วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555



แนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่างหรืองานช่าง
ก่อนอื่นก่อนที่เราจะได้รู้จัก ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่าง นั้นเราต้องมาทำความรู้จักเกี่ยวกับวัฒนธรรมก่อน เนืองจาก ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่าง มีอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมที่สืบต่อเเละส่งถ่ายทอดมากันเป็นช่างๆ เเละรุ่นต่อรุ่นต่อจากนี้จะขอให้ความหมายของวัฒนธรรมพอสังเขป
วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่คนไทยกำหนดสร้างขึ้น มีการเรียนรู้สืบต่อกันมามีลักษณะที่แสดงออกถึงความงอกงาม ความเป็นระเบียบร้อย ความกลมเกลียว ตลอดจนการมีศีลธรรมอันดีของสมาชิกไทย เช่น การใช้ภาษาไทย การรู้จักเคารพผู้อาวุโส การไหว้ ศิลปกรรม แบบไทย อาหารไทย รวมทั้งการแต่งกายที่สุภาพเรียบร้อย ถูกต้องตามกาลเทศะเหมาะสมตาฐานะและวัย
วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อคนไทยและสังคมไทยหลายประการ ดังนี้
1.
เป็นเครื่องแสดงถึงความเจริญและเชิดชูเกียรติของบุคคลและประเทศชาติ
2.
เป็นเครื่องที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะประจำชาติและดำรงความเป็นชาติไทย
3.
เป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข
4.
เป็นเครื่องช่วยให้คนไทยภูมิใจในชาติไทย
5.
เป็นเครื่องช่วยในการสร้างสัมพันธ์กับนานาชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมของกันและกันและนำมาปรับใช้กับสังคมไทย
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
1.
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น
2.
วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น
3.
วัฒนธรรมไทยเป็นความคิด ความเชื่อ และหลักการ ที่เป็นองค์ความรู้ซึ่งเกิดจากการสั่งสมและสืบทอดกันมา เช่นความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และศาสนา ค่านิยมการรักนวลสงวนตัวของสตรี เป็นต้น
4.
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบผสมผสาน นอกจากคนไทยจะมีวัฒนธรรมเป็นของตนแล้ว ยังมีการรับวัฒนธรรมของชาติอื่นมาด้วย เช่น การไหว้ จากอินเดีย การปลูกบ้านโดย ใช้คอนกรีต จากวัฒนธรรมตะวันตก หรือการทำสวนยกร่อง จากวัฒนธรรมจีนเป็นต้น
5.
วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะเป็น การดำเนินชีวิต บรรทัดฐานทางสังคม ศิลปกรรม วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนประเพณีต่างๆ
เช่น การตักบาตรเทโว ประเพณีการตักบาตรเทโว ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีถวายสลากภัต เป็นต้น จนอาจกล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญต่อลักษณะทาง วัฒนธรรมไทย

     
   อาจจะเห็นได้ว่าการกล่าวอ้างถึงความหมายของวัฒนธรรมดังกล่าวอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่าง มากเท่าไรนัก เเต่หากท่านผู้อ่านลองอ่านเเล้วทำความเข้าใจดีๆจะทำให้คุณเองมองเห็นอีกมิติหนึ่งหรือ ความหมายอีกนัยหนึ่งกล่าวคือศิลปวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่างนั้นเเฝงตัวมาอยู่ในรูปของศาสนาหรือไม่ก็อาจเเฝงตัวมาอยู่ในรูปของพิธีกรรมความเชื่อต่างๆ เเละถ้าท่านผุ้อ่านลองคิดเชื่อมโยงกลับไปดูท่านอาจจะพบว่านี่อาจที่จะเป็นบ่อเกิดของคิดในศิลปวัฒนธรรมไทย เกี่ยวกับ ภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง หรือ งานช่าง ก็อาจที่จะเป็นได้

ภูมิปัญญาชาวบ้านด้านเครื่องมือช่าง
ชาวบ้านละหู่มีความเชื่อกันว่า สมัยก่อนพระเจ้าเป็นผู้สร้างสิ่งมีชีวิตทั้งหลายขึ้นมา แต่ยังขาดคนตีเหล็กสำหรับไว้ตีเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำไร่ทำสวน เช่น มีด จอบ เป็นต้น พระเจ้าจึงได้สร้าง จะลี้ ขึ้นมาเพื่อรับหน้าที่เป็นคนตีเหล็กประจำหมู่บ้านลาหู่ เมื่อเครื่องมือการทำไร่ทำสวนชำรุดเสียหาย จะลี้ก็จะซ่อมให้ และถ้าเครื่องมือที่ทำมีขนาดใหญ่ เจ้าของที่จะให้ทำเครื่องมือนั้นก็ต้องไปช่วยจะลี้ทำด้วย เมื่อชาวบ้านได้รับผลผลิตจากการทำไร่ทำสวน ก็ต้องนำผลผลิตนั้นมาให้จะลี้ก่อนเป็นคนแรก และจะลี้ก็จะอวยพรให้ผลผลิตในปีนี้ รวมถึงปีต่อ ๆ ไปอุดมสมบูรณ์ และเจริญงอกงาม นอกจากนี้ ชาวบ้านต้องไปช่วยครอบครัวของจะลี้ถางไร่ ปลูกข้าว และเก็บเกี่ยวด้วยเมื่อจะลี้ว่างจากการตีเครื่องมือทำไร่ทำสวนแล้ว ก็จะทำเครื่องมือในการล่าสัตว์ให้กับชาวบ้าน เช่น ปืนแก๊ป มีด เป็นต้น และถ้าชาวบ้านล่าได้สัตว์ใหญ่ก็ต้องแบ่งส่วนคอของสัตว์นั้นให้จะลี้ด้วย ถ้าหากจะลี้เสียชีวิตลง คนในหมู่บ้านก็จะต้องเลือกจะลี้คนใหม่ขึ้นมาแทนจะลี้คนที่เสียชีวิตไป โดยคนที่จะมาเป็นจะลี้คนใหม่ต้องเป็นคนที่มีความสามารถ และเชี่ยวชาญในการตีเหล็กเป็นอย่างดี ซึ่งชาวบ้านก็จะปฏิบัติเช่นนี้ยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ตัวอย่างของคำว่าภูมิปัญญา "นี่ยังไม่ใช่เครื่องมือช่างนะครับท่านผู้อ่าน"


ภูมิปัญญาชาวบ้าน หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาพื้นบ้าน หมายถึง พื้นเพ รากฐานของความรู้ชาวบ้าน ซึ่งได้รับการศึกษา อมรม สั่งสม และถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ หรือ เป็นความรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ตรงของตนเอง ซึ่งได้เรียนรู้จากการทำงานจากธรรมชาติแวดล้อม สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เสริมสร้างความสามารถ ทำให้คนมีชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์ และมีส่วนเสริมสร้างการผลิตภูมิปัญญา งานช่างฝีมือของชาวบ้านขอม เกิดจากการสั่งสม มีการสืบทอด และถ่ายทอด จากบรรพบุรุษ เป็นประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้จากการทำงานจากธรรมชาติ แวดล้อม โดยที่พื้นบ้านของชาวบ้านขอมอยู่ริมน้ำบางขาม มีไม้ไผ่จำนวนมาก มีการนำไม้ไผ่มาใช้ทำเครื่องใช้ ต่าง ๆ ในครัวเรือน เครื่องมือประกอบอาชีพ และมีการพัฒนาทำเป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของท้องถิ่น มีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากครัวเรือนสู่ชุมชนท้องถิ่น จัดตั้งกลุ่ม รวมกลุ่ม จัดตั้งเป็นสหกรณ์ มี การบริหารจัดการที่ดี เผยแพร่ประชาสัมพันธ์จากท้องถิ่นสู่ชุมชนเมือง จากชุมชนเมืองสู่ชุมชนประเทศ โดยได้รับการยกย่องเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาว และ 5 ดาว โดยที่ภูมิปัญญาของชาวบ้านขอม สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านขอม สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านขอม มีการถ่ายทอด สืบทอด พัฒนา หากแต่ภูมิปัญญางานช่างฝีมือจักสานขาดความสนใจจากเยาวชน หรือชุมชนในท้องถิ่นแล้ว ภูมิปัญญา ดังกล่าว ก็เสี่ยงที่จะสูญหายไป อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ดังนั้น แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ภูมิปัญญาชาวบ้าน 
            การสานตระกร้าหรือกระจาดนี้ก็เช่นกันมีการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาคุณผู้อ่านว่าสวยมากเเค่ไหนล่ะครับศิลปะไทยของเรา ไม่เพียงเเค่สวยอย่างเดียวเเต่ประโยชน์การใช้สอยก็ยังมหาศาลอีกด้วย      "โอ้ยถ้าไม่ให้รักเมื่องไทยเเล้วจะรักใครดี"
ต่อจากนี้ไปผมขอพาท่านผู้อ่านทุกท่านไปพบกับความน่าภาคภูมิใจของชาติไทยเราศิลปวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้านในด้านเครื่องมือช่าง ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเเละเป็นสิ่งที่ล้ำค่ายิ่งในชนชาติไทยของเราภูมิปัญญานี้ไม่ได้เเตกต่างจากภูมิปัญญาอื่นมากนักเพราะเกิดจากการที่บรรพบุรุษของเราได้พยายามที่จะเพียรสร้างเอาไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดกันต่อไป พร้อมเเล้ว ติดตามได้เลยครับ

งานไม้แกะสลัก นับว่าเป็นงานศิลปกรรมที่ช่างไทยทำกันมาแต่โบราณ ทั้งนี้จะเห็นได้จากผลงานแกะสลักลวดลายประดับอาคาร สถาปัตยกรรม เช่น ลวดลายหน้าบัน คันควย ช่อฟ้า ใบระกา บานประตูแสดงให้เห็นถึงความสามารถของช่างไทยที่มีการเรียนรู้ การถ่ายทอด และวิวัฒนาการฝีมือในการประดิษฐ์ ศิลปกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมาหลายร้อยปี ซึ่งลักษณะลวดลายแกะสลักมักจะสืบทอดประเพณีนิยมโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะประจำชาติของไทย วัสดุงานไม้แกะสลัก วัสดุที่นิยมใช้ในการแกะสลักคือ ไม้สัก เพราะไม้สักเป็นไม้ที่ไม้แข็งจนเกินไป สามารถใช้เครื่องมือแกะสลักได้ง่าย นอกจากนี้ไม้สักยังเป็นไม้ที่ค่อนข้างจะทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม่หดตัวมากนัก เมื่อแกะสลักจะไม่ทำให้เสียรูปทรงและยากแก่การทำลายจากการกัดกินของปลวก


          "อันนี้ขอบอกว่าเป็นการเเกะสลักด้ามปืนที่วิจิตศิลป์มากๆ"
 

            

          "อันนี้เป็นงานเเกะสลักภาพนูนต่ำที่เห็นเเล้วพูดว่าทรงคุณค่าจริงๆ"


               
                    เครื่องเบญจรงค์เป็นเครื่องถ้วยที่มีการลงสีที่พื้นและลวดลาย เป็นเครื่องปั้นดินเผาประเภท เซรามิคส์  (Ceramics)  ใช้เนื้อดิน  ประเภทพอร์ซเลน  (Porcelain ware) โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เขียนลายด้วยวิธีลงยา    หรือสีผสมเคลือบ  (Enamel) เป็นง านที่มีต้น   กำเนิดในประเทศจีน   ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่  20   ในรัชสมัยพระเจ้าซวนเต๊อะ   (พ.ศ. 1969-1978)  สมัยราชวงศ์หมิง   มีการผลิตครั้งแรก  ในแคว้นกังไซ    มณฑลเจียงซี  (หรือที่คนไทยเรียกว่า  กังไส)  และพัฒนาต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยพระเจ้าเฉิงฮั่ว  (พ.ศ. 2008-2030)  การเขียนลายตามแบบของจีนจะใช้ตั้งแต่  3  สีขึ้นไป  มีชื่อเรียกในภาษาจีนต่างๆกัน  เช่น  อู๋ไฉ่  โต้วไฉ่  เฝินไฉ่  และฝาหลั่งไฉ่  ส่วนที่เป็นของไทยนั้น  จะนิยมลง  5  สีด้วยกัน  คือ  ขาว  เหลือง  ดำ  แดง  เขียว (คราม)  จึงเรียกว่า  เครื่องเบญจรงค์  หรือ  5  สี  โดยทั้ง  5  สีนี้จัดได้ว่าเป็นแม่สีเครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทย



  
                         "ภาพนี้เป็นเครื่องเบญจรงค์ที่สวยงามมากๆ"



              "ภาพนนี้เป็นพญานาค ๗ เศียรเเกะสลักอย่างวิจิตสิลป์"




กลายเป็นเรื่องที่เราปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสนานั้นมีความสำคัญเเละเป็นปัจจัยที่ส่งผลที่ทำให้วัฒนธรรมเจริญก้าวหรือหรืออาจจะเป็นคล้ายกับสะพานที่เชื่อมเอาวัฒนธรรมส่งต่อรุ่นต่อรุ่น เชื่อว่าท่านผู้อ่านบางท่านอาจที่จะเคยสัมผัสมาเเล้วเเต่อย่างไรก็ตามขอให้จรรโลงอยู่คู่บ้านเมื่องของเราตลอดไป

เเละเเล้วก็เดินทางมาถึงช่วงท้ายสุดที่ผมได้รวบรวมมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันก็คือ"ประณีตศิลป์ไทย" เเค่ชื่อก็ชวนให้อยากรู้เเล้ว ในบทความตอนสุดท้ายนี้ผมอยากที่จะให้ท่านผู้อ่านได้สัมผัสกับสิ่งที่สวยงามเเละถือว่าเป็นสิ่งที่ทรงคุณค่ามากของชาติไทยเราถ้าพร้อมเเล้วไปเลย..





เเละนี่ก็เป็นหน้าตาของสิ่งที่ถือว่าเป็นที่สุดของฝีมือช่างไทยอีอย่างหนึ่งนั่นคือ"เคื่องเงินไทย"
ชาติไทยเป็นชาติที่มีศิลปะวัฒนธรรมประวัติความเป็นมาที่ยาวนานประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยปรากฏหลักฐาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่เป็นงานประณีตศิลป์จำนวนมากที่ผ่านการคิดค้น สร้างสรรคื ประดิษฐ์ ขึ้นมาด้วยความเพียรพยายาม ประณีต วิจิตร บรรจง สืบต่อกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี หรืออาจจะเป็นพันปี

"เห็นเเล้วก็อดที่จะภาคภูมิใจไม่ได้เพราะว่าชาติไทยของเรามีศิลปะที่งดงามเป็นของเราเองซึ่งไม่เหมือนกับชาติไหนๆเเละอาจจะยากที่จะชาติไหนๆเปรียบเทียบได้...รักเมื่องไทยที่สุด...."

เเละทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ก็เพื่อที่จะให้ลูกหลานไทยได้เห็นถึงศิลปะอันล้ำค่าของไทยเเละจะได้ช่วยกันจรรโลงให้คงอยู่คู่ชาติของเราตลอดไป ผมมีเเนวทางพอที่จะได้ให้ปฏิบัติดังนี้

                                 การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
การอนุรักษ์วัฒธรรมไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของการดำเนินชีวิต เพื่อให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป
2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแสวัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม
3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของวัฒนธรรมว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม
4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน
5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่เป็นสมบัติของชาติ และมีผลโดยตรงของความเป็นอยู่ของทุกคน
6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ สามารถเลือกสรร ตัดสินใจและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตทั้งนี้สื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นด้วย



เนื้อหาภายในบล็อกนี้เป็นเรื่องราวของวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญางานช่าง เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 305171 การเขียนโปรเเกรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนปลาย ปีการศึกษา 2554 เสนอ อ.ภาณุพงศ์ สอนคม